top of page
FRI 10th, MAY 2019, 12 pm.
PIANIST
TANATSITH   PANNARAY
Ink and metamorphosis book.jpg
"มันไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น   ก็ได้  "นี่นา !!!
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำคำนี้  ที่จะเกิดขึ้นในความคิดเราบางช่วงเวลา ในขณะที่เรากำลังจะเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  ไม่ว่าจะเป็น การทำอาหาร การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ   รวมไปถึงการสร้างแนวดนตรีต่างๆในสไตล์ที่ไม่เหมือนกัน นี่จึงเป็นคำที่ผมคิดว่า   ดนตรีนั้นมันไม่จำเป็นจะต้องเป็นแนวใดแนวหนึ่ง   แต่มันสามารถนำมาผสมกับอีกแนวหนึ่งได้   ซึ่งมันก็น่าจำออกมาได้ดีเลยทีเดียว      ผมจึงคิดว่า สิ่งที่เราคุ้นเคย หรือสิ่งที่จำเป็นกับตัวเรา    บางครั้ง "มันไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น" ก็ได้
Recital ของผมในครั้งนี้ได้แนวคิดจากการที่ได้ดูวิดีโอคอนเสิร์ตของ Robbie williams  แล้วเขาได้นำเพลง  One for My Baby มาขับร้องใน สไตล์ Jazz  ผมเลยได้ไอเดียว่า ดนตรีนั้นก็เป็นเสียงที่มหัศจรรย์  มีหลายประเภท  แต่ถ้าผมนำดนตรีมารวมกันได้  มันก็คงจะสร้างความมหัศจรรย์เพิ่มให้กับ Recital ของผมได้   นี้จึงเป็นที่มาของ Recital ของผม

ตัวผมนั้นชอบฟังดนตรีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ป๊อป คลาสสิค แจ๊ส  ลูกทุ่ง ลูกกรุง หรือแม้แต่เพลง สุนทราภรณ์ ที่ผมฟังดนตรีหลากหลายนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่ต้องทำงาน  แต่อีกส่วนหนึ่งมันกลับทำให้ผมได้ค้นพบว่า พอลองได้ฟังดนตรีในแต่ละแนว จะมีเอกลักษณ์เฉพาะในตัวดนตรีนั้นๆ เช่น ดนตรีป๊อปนั้นจะใช้คอร์ดน้อยๆเน้นทำนองให้ติดหู  ดนตรีแจ๊สจะเน้นการใช้คอร์ดแทนและการ Improvise หรือถ้าเป็นดนตรีลูกทุ่งจะเน้นเสียงร้องให้มีการใช้ลูกคอหรือลูกเอื้อนเพือให้เป็นแบบเฉพาะของลูกทุ่ง เป็นต้น และหลังจากที่ได้คุยกับอาจารย์อโณทัยในเรื่องการค้นหาหัวข้อ   อาจารย์เปิดคลิปการแสดงของ Robbies Williams ที่เค้าได้แสดงคอนเสิร์ตโดยการนำบุหรี่มาสูบแล้วเล่นเพลง One For My Baby เป็นเสมือนกับว่าเค้าได้นั่งอยู่หน้าบาร์เหล้า เเล้วระบายความในใจให้กับคนดูคล้ายๆกับคนดูเป็นบาร์เทนเดอร์ จึงทำให้เกิดหัวข้อใน Recital ของผม ก็คือ  It Ain’t Necessarily So! หมายความว่า มันไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นก็ได้ หรือ ดนตรีมันไม่จำเป็นจะต้องเล่นแค่สไตล์เดียว ไม่จำเป็นต้องเล่นให้คนฟังฟังอย่างเดียว เราให้คนฟังฟังสิ่งที่เราอยากนำเสนอ It Ain’t Necessarily So! คือสิ่งที่ผมอยากนำเสนอใน Recital 

ในการแสดงของผมนั้นคือการนำเพลงป๊อปมาผสมผสานกับเพลงคลาสสิค   ซึ่งมันไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน แต่การที่จะทำให้เพลงคลาสสิคและเพลงป๊อปนั้นไปด้วยกันได้อย่างลื่นไหลนั้น  มันก็ไม่ใช่อะไรที่ทำได้ง่าย และนี่คือเป้าหมายที่ผมจะนำทั้ง 2 ไสตล์มาใส่รวมกันใน Recital ของผม

 

ผมคิดว่า “ความยืดหยุ่น” นั้นหากเปรียบกับสังคม ผมคิดว่าน่าจะคือการให้อภัยกัน   แต่หากนำมาอยู่ในดนตรีผมคิดว่า “ความยืดหยุ่น” คือ “การให้พื้นที่เฉพาะทางของดนตรี”   โดยที่ไม่มีการยึดติดในรูปแบบเดิมๆอีก สามารถสร้างความหลากหลายทางสไตล์ดนตรีได้มากกว่า 1 สไตล์  การค้นพบ Recital ของผมในครั้งนี้ก็คือ “ความยืดหยุ่น” 

ถ้าการสร้างดนตรีในแบบของตัวเอง  สามารถจะทำให้ทุกคนได้มีความสุขและสนุกไปกับมัน  โดยที่ไม่ยึดติดในรูปแบบเดิมและเปิดใจยอมรับกับสิ่งใหม่  เท่านี้ผมก็คิดว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นเสียงสะท้อนในงาน Recital ของผม แล้วผลสะท้อนของการค้นพบก็จะกลายเป็นการสร้างสรรค์งานดนตรีให้เกิดขึ้นจริงได้ตามที่เราต้องการ

It' Ain't Necessarily So

A work of art does not answer questions,

it provokes them;

and its essential meaning is in the tension

between the contradictory answers.

ศิลปะไม่ได้ให้คำตอบสำหรับคำถาม

แต่กระตุ้นให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างคำตอบหลายคำตอบ

ที่จะนำไปสู่บทสนทนาใหม่ ระหว่างคำตอบเหล่านั้น

  

- Leonard Bernstein

bottom of page